วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

ข้อคิดทางดนตรีดีๆจาก Horowitz(2)





Horowitz ย้ำนักหนาว่านักดนตรีทุกคนควรหาสไตล์ของตนเองให้เจอะ ไม่ใช่การเลียนแบบการเล่นที่ perfect จากคนเก่งๆ หรือจากอาจารณ์ของตนเอง

อย่าไปกังวลกับโน๊ตให้มากนัก การเล่น note ที่ perfect ไม่ได้หมายความว่าจะได้ดนตรีที่เยี่ยมยอด


“A few wrong notes are not a crime”
Horowitz กล่าวแล้วอ้างอิงจากคำพูดของ Toscanini พ่อตาของเค้า


“For false notes, no one was ever put in jail”

ถึงเล่นโน๊ตผิด ก็ไม่ติดคุกหรอก <---ถูกใจสุดๆ แต่นั่นไม่ได้หมายว่า เล่นผิดบ่อยๆแล้วมันจะดีหรอกนะจริงไหม


Horowitz ได้ให้ความเห็นในเรื่องการศึกษาบทเพลงจากแผ่นบันทึกเสียงว่า ในปัจจุบันมีหลายๆคนฝึกฝนเพลงจาก CD หรือ บันทึกการแสดง เค้าเหล่านั้นให้พยายามที่จะดีดและเลียนแบบเสียงให้เหมือนกับเสียงอันแสนจะ perfect ในบันทึกนั้นๆ แต่นั่นไม่ใช่การดีดเปียโนที่ดี เพราะเป็นการให้ความสนใจกับตัวโน๊ตมากจนเกินไป จนลืมไปว่าไหนหล่ะดนตรี? ไหนหล่ะการตีความ?


Horowitz ยกตัวอย่างกรณีนี้ในเรื่องของเค้ากับ Rachmaninoff

Horowitz เล่าว่า เค้าได้ตีความและดีด บทเพลง Piano Concerto no.3 ของ Rachmaninoff ไปในทิศทางอีกแบบนึงที่แตกต่างจากที่ตัว Rachmaninoff เล่นเอง โดยให้เหตุผลว่า เพราะตัวเค้าเองเข้าใจถึงสิ่งที่อยู่ในบทเพลงที่ Rachmaninoff ต้องการจะสื่อ และเข้าถึงบรรยากาศของรัสเซียในช่วงเวลานั้น ดังนั้น Horowitz จึงได้พยายามนำความรู้สึกเหล่านั้นมาใส่ในบทเพลง และผลปรากฏว่า Rachmaninoff เองก็เห็นด้วยกับการตีความของเค้า



เมื่อ Horowitz กล่าวถึงการสอนเปียโนของตนเอง
Horowitz เล่าว่า การสอนเปียโน ก็เปรียบเหมือนกับการเป็น conductor ที่กำกับวง orchestra ว่าต้องเล่นยังไง แต่ส่วนหนึ่งของการเรียนดนตรี คือการที่รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งในเรื่องนี้ Horowitz บอกว่าเป็นปัญหาใหญ่เลยหล่ะ


“ people are taught how to be taught by someone else, but they are not taught how to be their own teacher”


แล้วยกตัวอย่างถึง conductor ของวง orchestra เค้าเหล่านั้น ไม่สามารถบอกนักคาริเน็ตได้ว่า ต้องเล่นคาริเน็ตยังไง แต่สิ่งที่ทำได้คือ คุยกับนักคาริเน็ต และบอกเค้าว่าต้องการอะไร


“ The secret is not to force your personality on your student”

Horowitz เล่าว่า เวลาสอน นร. น้อยครั้งมากๆที่เค้าจะเดินไปที่เปียโนแล้วบอก นร ว่า ให้เล่นแบบนั้นแบบนี้ เพราะนั่นคือการสอนที่ผิด นร. ต้องหัดที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง




และบทส่งท้ายในบทสัมภาษณ์ในครั้งนี้ ที่ Horowitz เล่าถึงเส้นทางของการเป็นศิลปินฝากไว้ให้นักเปียโนรุ่นใหม่เก็บไปคิด โดยอ้างคำกล่าวของ George Szell

“ There’s a lot of piano playing, but not enough music making”

การเป็นศิลปิน ต้องรู้จักเริ่มอาชีพด้วยตนเอง ต้องแสดงให้เห็นว่าตนเองทำอะไรได้บ้าง

Horowitz เล่าถึงตัวตัวเค้าเองว่า ในชิวิตนี้เค้าไม่เคยเข้าสู่การแข่งขันใดๆเลย และในคอนเสิร์ตแรกๆที่ออกแสดง ภายในห้องก็แทบจะว่างเปล่า แต่เมื่อเวลาผ่านไป คนก็ค่อยๆมากขึ้นๆ จนกระทั่งล้น ซึ่ง Horowitz เองมองว่าความสำเร็จนี้มันดีกว่า ที่เมื่อคุณเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน และเป็นที่รู้จัก ผู้คนมากมายต่างคาดหวังกับการเล่นของคุณ แม้ว่านั่นก็เป็นอีกทางหนึ่งที่เป็นบรรไดก้าวสู่ความสำเร็จก็ตาม แต่แน่นอนว่ายังมีอีกทางหนึ่ง ซึ่งคือทางที่สามารถเป็นไปได้ ซึ่งก็คือทางที่ Horowitz เลือกนั่นเอง



ปล. บทความนี้คัดลอกบางส่วนที่ จขบ สนใจ จากหนังสือ Great Contemporary Pianists Speak For Themselves โดย Elyse March ใครสนใจลองหาฉบับเต็มมาอ่านนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น