วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

นิยามในการเล่นไวโอลิน 3 ระดับ โดย Carl Flesch จาก Art of Violin Playing



Carl Flesch
(1873-1944)
Carl Flesch หนึ่งในสุดยอดปรมาจารย์ครูไวโอลินชาวฮังการี ผู้เลื่องชื่อในยุโรป ผู้ปลุกปั้นนักไวโอลินที่มีชื่อเสียงมาแล้วหลายต่อหลายคน อาทิเช่น Ivry Gitlis, Josef Hassid, Ida Haendel, ฯลฯ 


นอกเหนือจากการสอนหนังสือแล้ว Flesch ยังแต่งหนังสือที่น่าสนใจเกี่ยวกับไวโอลิน รวมทั้งได้แต่งแบบฝึกหัดไวโอลินไว้หลายเล่ม

หนังสือ Art of Violin Playing ของเขา มีทั้งหมด 2 เล่ม โดยเนื้อหาในเล่มแรก จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทคนิคตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูงในการเล่นและซ้อมไวโอลิน ซึ่ง Flesch  ได้สอดแทรกหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการทำงานของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวพันกับการซ้อมไวโอลินลงไปด้วย สำหรับในเล่มที่ 2 นั้น เขาได้เน้นถึงเรื่องของการตีความบทเพลงและการสร้างสรรค์เสียงไวโอลินให้เป็นศิลปะแห่งดนตรีอันแท้จริง


Art of Violin Playing
Flesch ได้ทำการนิยามการเล่นไวลินไว้ทั้งหมด  3 ระดับ ได้แก่


นิยามระดับ 1 Violin playing as a craftsmanship หรือ การเล่นแบบช่างฝีมือ  คือ ไม่ต้องคิดไร แค่ทำตามครูสอน และทำตามแบบฝึกหัด เรียนว่าซ้อมแล้วขัดเกลากันออกมาเป็นบล๊อกๆเหมือนๆกัน


นิยามระดับ 2 Violin playing as a science หรือ การเล่นโดยใช้ความคิดและรู้จักการแก้ปัญหาทางเทคนิค หรือ  ตรึกตรองด้วยลักษณะทางกายภาพ ซึ่งก็อย่างที่กล่าวไปในตอนแรกว่า Flesch ได้นำความรู้ทาวิทยาศาสตร์ในเรื่องการทำงานกล้ามเนื้อมาใช้ในการแนะนำเทคนิคในการซ้อม และนอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ในเรื่องของจิตวิทยามาใช้ เพื่อให้นักไวโอลินเอามาปรับใช้ในการแก้ปัญหาทางเทคนิค  เพื่อให้สามารถเล่นความเร็วที่ต้องการได้ พร้อมกับโทนเสียงที่ดี และถูกจังหวะ


นิยามระดับ 3 Violin playing as an art หรือ การเล่นไวโอลินโดยใช้การตีความ ความรู้สึก ความซาบซึ้ง หรือพูดง่ายๆว่า ใช้หัวใจในการเล่นไวโอลินนั่นเอง


Special Thank :  dave bartus
More info  : http://www.carl-flesch.de/


วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

หนังสือเกี่ยวกับเปียโนคลาสสิกที่น่าสนใจ : Piano Mastery

Piano Mastery แต่งโดย Harriette Brower 

เล่มนี้ขายอยู่ใน Amazon ราคาก็ตามป้ายในรูปข้างล่าง แต่อ๊ะ.. ถ้าใครไม่อยากเสียตังค์ก็มีให้อ่านฟรีใน gutenberg นะคะ (http://www.gutenberg.org/ebooks/15604แต่ว่ามีไม่ครบทุกตอนเหมือนในหนังสือฉบับจริง  และเนื่องจากว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่พิมพ์ออกมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1915 เลยหมดลิขสิทธ์แล้ว ทำให้สำนักพิมพ์ต่างๆสามารถพิมพ์ออกมาขายได้อิสระ แต่เจ้าดั้งเดิมคือ สำนักพิมพ์ Dover ในรูปนี้ เป็นฉบับที่เจ้าของบล๊อกมีอยู่ ราคาไม่แพงมาก รูปเล่มก็ใช้ได้ ขนาดพอดีมือ ถือนอนอ่านบนเตียงได้สบายๆ ส่วนฉบับใหม่ที่สำนักพิมพ์ Alfred ทำออกมานั้น ขายราคาแพงกว่าฉบับดั้งเดิมอีกตั้งเท่าตัว ก็ไม่รู้ว่ามันพิเศษยังไงเหมือนกัน ตัวอย่างก็ไม่มีให้ดูอีกต่างหาก แต่ส่วนตัวแล้วคิดว่าคงไม่ต่างกันมาก อาจจะมีการเพิ่มเติมประวัติของนักเปียโนแต่ละท่านเล็กน้อย ตามสไตล์หนังสือที่สำนักพิมพ์นี้ชอบทำ


สำหรับเนื้อหาภายในเล่ม ก็เป็นบทสัมภาษณ์นักเปียโนที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น เกี่ยวกับเทคนิคในการซ้อม มุมมองทางดนตรี ข้อคิดและคำแนะนำต่างๆ แต่ละบทความยาวประมาณ 2-3 หน้า อ่านสนุกกำลังดี นักเปียโนหลายท่านให้คำแนะนำในการซ้อมและเทคนิคอย่างละเอียดที่น่าสนใจมากๆ ในขณะที่บางท่าน อาทิเช่น Wilhelm Bachaus กลับบอกว่าเทคนิคต่างๆในการดีดเปียโนของพวกเขา มันมาเองโดยธรรมชาติ บอกไม่ถูกเหมือนกันว่าต้องซ้อมยังไง อ่านแล้วทำเอานักเปียโนฝีมืออ่อนๆอย่างเราห่อเหี่ยวขึ้นมาทันที เพราะไม่มีพรสวรรค์โดยธรรมชาติอย่างท่านๆเหล่านั้น แต่อย่างน้อยๆ จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ เราจะพบว่า แม้ว่านักเปียโนสุดยอดระดับโลกขนาดไหน ไม่มีใครที่ประสพความสำเร็จ โดยปราศจากการซ้อม ดังนั้น แม้จะไม่มีพรสวรรค์ แต่พรแสวงจากการมีระเบียบวินัยในการฝึกซ้อม จึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้ประสพความสำเร็จได้เช่นกัน