"Perfect itself is imperfect"
"My face is my passport"
“I am a general. My soldiers are the keys and I have to command them.”
วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554
รายชื่อ conductor คอนเสิร์ตปีใหม่ของวงเวียนนาฟิลด์ (Vienna Philharmonic)
วงเวียนนาฟิลด์(Vienna Philharmonic) จะมี New year's Concert เป็นประจำทุกปี ซึ่งจัดติดต่อกันมาหลายสิบปีแล้ว วันนี้ว่างๆเลยไล่รายชื่อดูเล่นๆซักหน่อย
ปี 2012 โดย Mariss Jansons
ปี 2011 โดย Franz Welser-Most
ปี 2010 โดย Georges Pretre
ปี 2009 โดย Danial Barenboim
ปี 2008 โดย Georges Pretre
ปี 2007 โดย Zubin Mehta
ปี 2006 โดย Mariss Jansons
ปี 2005 โดย Lorin Maazel
ปี 2004 โดย Riccado Muti
ปี 2003 โดย Nikolaus Harnoncourt
ปี 2002 โดย Seiji Ozawa
ปี 2001 โดย Nikolaus Harnoncourt
ปี 2000 โดย Riccado Muti
ปี 1999 โดย Lorin Maazel
ปี 1998 โดย Zubin Mehta
ปี 1997 โดย Riccado Muti
ปี 1996 โดย Lorin Maazel
ปี 1995 โดย Zubin Mehta
ปี 1994 โดย Lorin Maazel
ปี 1993 โดย Riccado Muti
ปี 1992 โดย Carlos Kleiber
ปี 1991 โดย Claudio Abbado
ปี 1990 โดย Zubin Mehta
ปี 1989 โดย Carlos Kleiber
ปี 1988 โดย Claudio Abbado
ปี 1987 โดย Herbert von Karajan
ปี 1980-1986 โดย Lorin Maazel
ปี 1955-1979 โดย Willi Boskovsky
คอนเสิร์ตปีใหม่ของวงเวียนนาฟิลด์(Vienna Philharmonic)นี้ เล่นเพลงเหมือนๆกันทุกปี ซึ่งเพลงที่เล่นก็แน่นอน ต้องเป็นผลงานของ Johann Strauss นักแต่งเพลงชื่อดังของชาวออสเตรีย ชาตินิยมสุดๆ (แต่บางทีก็อดสงสัยไม่ได้ว่า Mozart ก็ออสเตรียนะ ทำไมไม่เอามาเล่นมั่งหล่ะ เหอๆ)
ส่วนตัวแล้ว ข้าพเจ้ามีแผ่น CD งานชุดนี้อยู่ 2 แผ่น แผ่นนึงเป็นงานของ Riccado Muti ในปี 1997 และของ Karajan ปี 1987 ทั้ง 2 แผ่นนี้ไม่ได้ซื้อเองเลยซักแผ่น เพราะได้อนิสงค์จากคุณพ่อซึ่งซื้อมานานแล้ว ^_^ ตอนนี้ใกล้ปีใหม่แล้ว คิดถึงงานชุดนี้และคิดถึงเมืองเวียนนาจริงๆ ได้แต่หวังว่าในเร็วๆนี้จะได้มีโอกาสไปฉลองปีใหม่พร้อมกับวง Vienna Philharmonic ซักวัน
ปี 2012 โดย Mariss Jansons
ปี 2011 โดย Franz Welser-Most
ปี 2010 โดย Georges Pretre
ปี 2009 โดย Danial Barenboim
ปี 2008 โดย Georges Pretre
ปี 2007 โดย Zubin Mehta
ปี 2006 โดย Mariss Jansons
ปี 2005 โดย Lorin Maazel
ปี 2004 โดย Riccado Muti
ปี 2003 โดย Nikolaus Harnoncourt
ปี 2002 โดย Seiji Ozawa
ปี 2001 โดย Nikolaus Harnoncourt
ปี 2000 โดย Riccado Muti
ปี 1999 โดย Lorin Maazel
ปี 1998 โดย Zubin Mehta
ปี 1997 โดย Riccado Muti
ปี 1996 โดย Lorin Maazel
ปี 1995 โดย Zubin Mehta
ปี 1994 โดย Lorin Maazel
ปี 1993 โดย Riccado Muti
ปี 1992 โดย Carlos Kleiber
ปี 1991 โดย Claudio Abbado
ปี 1990 โดย Zubin Mehta
ปี 1989 โดย Carlos Kleiber
ปี 1988 โดย Claudio Abbado
ปี 1987 โดย Herbert von Karajan
ปี 1980-1986 โดย Lorin Maazel
ปี 1955-1979 โดย Willi Boskovsky
คอนเสิร์ตปีใหม่ของวงเวียนนาฟิลด์(Vienna Philharmonic)นี้ เล่นเพลงเหมือนๆกันทุกปี ซึ่งเพลงที่เล่นก็แน่นอน ต้องเป็นผลงานของ Johann Strauss นักแต่งเพลงชื่อดังของชาวออสเตรีย ชาตินิยมสุดๆ (แต่บางทีก็อดสงสัยไม่ได้ว่า Mozart ก็ออสเตรียนะ ทำไมไม่เอามาเล่นมั่งหล่ะ เหอๆ)
ส่วนตัวแล้ว ข้าพเจ้ามีแผ่น CD งานชุดนี้อยู่ 2 แผ่น แผ่นนึงเป็นงานของ Riccado Muti ในปี 1997 และของ Karajan ปี 1987 ทั้ง 2 แผ่นนี้ไม่ได้ซื้อเองเลยซักแผ่น เพราะได้อนิสงค์จากคุณพ่อซึ่งซื้อมานานแล้ว ^_^ ตอนนี้ใกล้ปีใหม่แล้ว คิดถึงงานชุดนี้และคิดถึงเมืองเวียนนาจริงๆ ได้แต่หวังว่าในเร็วๆนี้จะได้มีโอกาสไปฉลองปีใหม่พร้อมกับวง Vienna Philharmonic ซักวัน
วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554
The Rake’s Progress by Stravinsky
เมื่อพูดถึงชื่อ Stravinsky หลายคนคงคุ้นเคยกับงานดังๆอย่าง The rite of spring, The Firebird หรือ Petrushka ซะมากกว่า แต่วันนี้นึกครึ้มอยากสรรหาผลงานแปลกๆ มาให้ฟังกันแก้เลี่ยนเล่นๆ เลยมาตกที่งานโอเปร่าเรื่อง Rake’s progress งานสำเนียงแปลกๆ สไตล์ classic ผสม modern ในแบบของ Stravinsky
The Rake’s progress เป็นงานโอเปร่า 3 องค์ ของ Stravinsky งานชิ้นนี้ได้ W. H. Auden และ Chester Kallman นักแต่งกลอนคู่ขวัญชาวอเมริกันชื่อดังแห่งยุค ซึ่งได้รับความไว้วางใจให้แต่งเนื้อร้องให้กับบทเพลงของคีตกวีดังๆในยุคนั้นหลายคน ทั้ง Britten , Henze , Nabokov
โดยผลงานชิ้นนี้ Stravinsky ได้รับแรงบันดาลใจในการแต่งจากภาพเขียนของ William Hogarth จิตรกรชาวอังกฤษ ภาพเขียนชุด A Rake's Progress นี้ถูกเขียนขึ้นมาในช่วงปี ค.ศ. 1733–1735 มีจำนวนทั้งหมด 8 ภาพ ซึ่งปัจจุบันถูกเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์ Soane Museum ณ กรุง London ประเทศอังกฤษ
เนื้อเรื่องโดยคร่าวๆ เกี่ยวกับ ชีวิตอันเหลวแหลกของ ชายคนหนึ่งที่ชื่อว่า Tom Rakewell โดยมีเรื่องย่อดังนี้
Act 1
Anne พยายามชักจูงให้ Tom คนรักของเธอ หางานทำให้เป็นหลักเป็นฐาน แต่ Tom กลับปฏิเสธ และตัดสินใจเดินทางไปเสี่ยงโชคในกรุงลอนดอน Tom ทรยศคนรักของตนเอง โดยรับข้อเสนอ ยอมนอนกับแม่ม่ายผู้หนึ่ง 1 คืน ทางฝ่าย Anne เมื่อเห็น Tom ขาดการติดต่อ ก็เป็นห่วง จึงเดินทางไปหายังลอนดอน
ใน Act นี้มีบท Aria ของ Anne ที่มีชื่อเสียง คือ “ No word from Tom”
ในคลิปนี้มี 4 เพลงต่อกันเลย คือ
No Word From Tom
Quietly, Night
My Father Can I Desert Him
I Go, I Go To Him
Act 2
Tom เริ่มเบื่อชีวิตของเขา Nick คนรับใช้จึงเสนอให้ Tom แต่งงานกับ Baba the Turk หญิงที่มีชื่อเสียง แต่น่าเกลียดเพราะมีหนวดขึ้นที่หน้า
ต่อมา Anna ตามหา Tom จนเจอะ แต่ก็พบว่าเขาแต่งงานแล้ว Tom ยอมรับผิดในสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วไล่เธอไป แต่ไม่นาน Tom ก็เริ่มทนภรรยาของตนเองไม่ได้ จึงมีปากเสียงกัน Baba แล้วแยกย้ายกันเข้านอน
เมื่อตื่นมา Tom พบว่า Nick เอาเครื่องมือวิเศษชิ้นหนึ่ง ซึ่งสามารถเปลี่ยนก้อนหินให้เป็นขนมปังได้มาแสดงให้ดู Tom ตื่นเต้นมาก และตัดสินใจลงทุนกับเครื่องมือนี้ โดยที่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังโดนหลอก
ฉาก present เครื่องมือวิเศษ
คลิปนี้ Tom ตลกดีมีการทดสอบกินขนมปังโชว์ด้วย
Act 3
แผนการทั้งหมดของ Tom ล้มเหลว ทรัพย์สินทั้งหมดของ Tom จึงถูกนำออกไปประมูล รวมทั้ง Baba ภรรยาของเขาด้วย Anne เข้ามายังที่ประมูล Baba จึงบอก Anne ว่า Tom ยังรักเธออยู่ และให้ช่วย Tom พร้อมกับเตือนให้ระวัง Nick
ที่ป่าช้า Nick ทวงวิญญาณของ Tom เป็น เงินค่าจ้าง และชวนให้เล่นไพ่ ถ้า Tom เลือกไพ่ได้ถูก เขาจะเป็นอิสระ Tom ชนะเกมส์นี้ด้วยความช่วยเหลือของ Anne แต่ Nick ก็สาปให้ Tom เป็นบ้า ก่อนจะกลับหายลงไปในหลุม
Tom กลายเป็นบ้า และคิดว่าตัวเองคือ Adonis ซึ่งกำลังรอคอย Venus ( ในที่นี้ Tom จิตนาการว่า Anne คือ Venus)
Tom ถูกนำตัวไปอยู่ที่โรงพยาบาลบ้า Anne ไปเยี่ยมและร้องเพลงกล่อมจนเขาหลับ แล้วจากไป เมื่อ Tom ตื่นขึ้นมาและพบว่า Venus ของเขาจากไปแล้ว เขาจึงอยู่ในความฝันว่าตนเองคือ Adonis ต่อไป........
ตามเรื่องเค้าแต่งให้เป็นป่าช้า แต่เวอร์ชั่นนี้สมัยใหม่สุดๆ ดัดแปลงเป็นห้องเก็บศพใน รพ.แทน
สำหรับภาพวาดและเรื่องราวดั้งเดิม ของ The rake's progress ของ William Hogarth หาอ่านดูได้ที่นี่ค่ะ
http://en.wikipedia.org/wiki/A_Rake%27s_Progress
The Rake’s progress เป็นงานโอเปร่า 3 องค์ ของ Stravinsky งานชิ้นนี้ได้ W. H. Auden และ Chester Kallman นักแต่งกลอนคู่ขวัญชาวอเมริกันชื่อดังแห่งยุค ซึ่งได้รับความไว้วางใจให้แต่งเนื้อร้องให้กับบทเพลงของคีตกวีดังๆในยุคนั้นหลายคน ทั้ง Britten , Henze , Nabokov
โดยผลงานชิ้นนี้ Stravinsky ได้รับแรงบันดาลใจในการแต่งจากภาพเขียนของ William Hogarth จิตรกรชาวอังกฤษ ภาพเขียนชุด A Rake's Progress นี้ถูกเขียนขึ้นมาในช่วงปี ค.ศ. 1733–1735 มีจำนวนทั้งหมด 8 ภาพ ซึ่งปัจจุบันถูกเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์ Soane Museum ณ กรุง London ประเทศอังกฤษ
เนื้อเรื่องโดยคร่าวๆ เกี่ยวกับ ชีวิตอันเหลวแหลกของ ชายคนหนึ่งที่ชื่อว่า Tom Rakewell โดยมีเรื่องย่อดังนี้
Act 1
Anne พยายามชักจูงให้ Tom คนรักของเธอ หางานทำให้เป็นหลักเป็นฐาน แต่ Tom กลับปฏิเสธ และตัดสินใจเดินทางไปเสี่ยงโชคในกรุงลอนดอน Tom ทรยศคนรักของตนเอง โดยรับข้อเสนอ ยอมนอนกับแม่ม่ายผู้หนึ่ง 1 คืน ทางฝ่าย Anne เมื่อเห็น Tom ขาดการติดต่อ ก็เป็นห่วง จึงเดินทางไปหายังลอนดอน
ใน Act นี้มีบท Aria ของ Anne ที่มีชื่อเสียง คือ “ No word from Tom”
ในคลิปนี้มี 4 เพลงต่อกันเลย คือ
No Word From Tom
Quietly, Night
My Father Can I Desert Him
I Go, I Go To Him
Act 2
Tom เริ่มเบื่อชีวิตของเขา Nick คนรับใช้จึงเสนอให้ Tom แต่งงานกับ Baba the Turk หญิงที่มีชื่อเสียง แต่น่าเกลียดเพราะมีหนวดขึ้นที่หน้า
ต่อมา Anna ตามหา Tom จนเจอะ แต่ก็พบว่าเขาแต่งงานแล้ว Tom ยอมรับผิดในสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วไล่เธอไป แต่ไม่นาน Tom ก็เริ่มทนภรรยาของตนเองไม่ได้ จึงมีปากเสียงกัน Baba แล้วแยกย้ายกันเข้านอน
เมื่อตื่นมา Tom พบว่า Nick เอาเครื่องมือวิเศษชิ้นหนึ่ง ซึ่งสามารถเปลี่ยนก้อนหินให้เป็นขนมปังได้มาแสดงให้ดู Tom ตื่นเต้นมาก และตัดสินใจลงทุนกับเครื่องมือนี้ โดยที่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังโดนหลอก
บท Aria ของ BaBa สาวมีหนวด คนแสดงบทนี้ต้องใส่หนวดปลอมเอาไว้ที่คาง แต่พอร้องไปร้องมา หนวดมักจะตกลงมาที่คอ ดูคล้ายเป้นสร้อยคอไปซะงั้น
ฉาก present เครื่องมือวิเศษ
คลิปนี้ Tom ตลกดีมีการทดสอบกินขนมปังโชว์ด้วย
Act 3
แผนการทั้งหมดของ Tom ล้มเหลว ทรัพย์สินทั้งหมดของ Tom จึงถูกนำออกไปประมูล รวมทั้ง Baba ภรรยาของเขาด้วย Anne เข้ามายังที่ประมูล Baba จึงบอก Anne ว่า Tom ยังรักเธออยู่ และให้ช่วย Tom พร้อมกับเตือนให้ระวัง Nick
ที่ป่าช้า Nick ทวงวิญญาณของ Tom เป็น เงินค่าจ้าง และชวนให้เล่นไพ่ ถ้า Tom เลือกไพ่ได้ถูก เขาจะเป็นอิสระ Tom ชนะเกมส์นี้ด้วยความช่วยเหลือของ Anne แต่ Nick ก็สาปให้ Tom เป็นบ้า ก่อนจะกลับหายลงไปในหลุม
Tom กลายเป็นบ้า และคิดว่าตัวเองคือ Adonis ซึ่งกำลังรอคอย Venus ( ในที่นี้ Tom จิตนาการว่า Anne คือ Venus)
Tom ถูกนำตัวไปอยู่ที่โรงพยาบาลบ้า Anne ไปเยี่ยมและร้องเพลงกล่อมจนเขาหลับ แล้วจากไป เมื่อ Tom ตื่นขึ้นมาและพบว่า Venus ของเขาจากไปแล้ว เขาจึงอยู่ในความฝันว่าตนเองคือ Adonis ต่อไป........
ตามเรื่องเค้าแต่งให้เป็นป่าช้า แต่เวอร์ชั่นนี้สมัยใหม่สุดๆ ดัดแปลงเป็นห้องเก็บศพใน รพ.แทน
สำหรับภาพวาดและเรื่องราวดั้งเดิม ของ The rake's progress ของ William Hogarth หาอ่านดูได้ที่นี่ค่ะ
http://en.wikipedia.org/wiki/A_Rake%27s_Progress
วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554
หนังสือเพลงคลาสสิกที่น่าสนใจ
แนะนำหนังสือเพลงคลาสสิกที่น่าสนใจ
Music of Master
แต่งโดย สดับพิณ รัตนเรือง
reviewed by Vitamin_C
หากใครเป็นสมาชิกจุลสารของรายการดนตรีคลาสสิกของสถานีวิทยุจุฬาก็คงจะรู้จักหนังสือเล่มนี้ดี หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือรวมบทความและบทสัมภาษณ์ที่ อ.สดับพิณ รัตนเรือง ที่ได้เขียนไว้ในจุลสารในระหว่างปี พ.ศ.2538-2542 เนื้อหาในเล่มก็น่าสนใจและมีเรื่องหลากหลาย เริ่มต้นตั้งแต่บทปูพื้นการฟังเพลงคลาสสิก มีเกร็ดประวัติของคีตกวีหลายท่าน และมีบทสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิของวงการคลาสสิกในบ้านเราด้วย
อลังการอุปรากร
แต่งโดย สดับพิณ รัตนเรือง
reviewed by Vitamin_C
เนื้อหาภายในเป็นเรื่องย่อของโอเปร่า แบ่งตามแต่ละองค์ ซึ่งเขียนได้กระชับอ่านง่ายและสนุกมากๆ นอกจากนี้ ยังมีแนะนำเพลงเด่นของโอเปร่าเรื่องนั้นๆด้วย ตอนที่ซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่าน เรียกว่าช่วยจุดประกายให้เริ่มหันมาฟังโอเปร่ามากขึ้นเลยค่ะ
เพลงเพลินใจ
แต่งโดย พิชัย วาสนาส่ง
reviewed by Vitamin_C
จริงๆ แล้วเล่มนี้หน้าปกเป็นสีขาวค่ะ แต่พอเวลาผ่านไปดันกลายเป็นสีเหลืองซะงั้น ซื้อไว้นานมากจนลืมไปแล้วว่าเค้าเขียนว่ายังไงบ้าง หลังจากรื้อออกมาครั้งนี้ ก็ว่าจะหาเวลามาอ่านซะหน่อย
เพลงรักคีตกวี
แปลโดย สันตสิริ
สำนักพิมพ์ฉับแกระ
reviewed by Vitamin_C
เล่มนี้จำไม่ได้ว่าซื้อมาตั้งแต่เมื่อไหร่ รู้แต่ว่านานมากเช่นกัน หนังสือ เล่มนี้แปลมาจากหนังสือภาษาอังกฤษที่ชื่อว่า The Private Lives of Great Composers เนื้อหาภายในเป็นชีวประวัติที่เน้นเรื่องความรักของcomposer หลายท่าน เนื้อเรื่องไม่ค่อยมีกล่าวถึงบทเพลงต่างๆเท่าไหร่ มีแต่เรื่องรักๆใคร่ๆ ทั้งหวานซึ้งกินใจ และเศร้าน้ำตาไหลพราก (แต่ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างหลังมากกว่า) อ่านแล้วอาจจะหลงนึกไปว่า อ๊ะ นี่เรากำลังนิยายน้ำเน่าอยู่หรือเปล่าเนี่ย โดยเฉพาะเรื่องของ Clara Schumann อ่านทีไรน้ำตาท่วมหมอนทุกที
สังคีตนิยม
แต่งโดย ณรุทธ์ สุทธจิตต์
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
reviewed by Vitamin_C
หน้า ปกบอกไว้ว่าพิมพ์ซ้ำครั้งที่ 9 ในปี 2550 แต่เล่มที่เรามีเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 ค่ะ เล่มนี้จะออกแนวหนังสือเรียนวิชาการไปหน่อย แต่ก็อ่านไม่ยากเท่าไหร่ ไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ทางดนตรีมากนักก็อ่านรู้เรื่อง
ไวโอลินของไอน์สไตน์
โดย โจเซฟ อีเกอร์
สำนักพิมพ์มติชน
แปลโดย จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล
reviewed by Vitamin_C
เล่ม นี้พึ่งซื้อมาจากงานสัปดาห์หนังสือเมื่อปีหลายปีก่อน ชื่อบทในสารบัญ มีหลายเรื่องที่น่าสนใจ แต่เห็นบางท่านที่อ่านจบแล้ว บอกว่าบทหลังๆพูดถึงฟิสิกซ์มากไปหน่อย อ่านแล้วอาจจะมึนได้ ส่วนตัวเองนั้นเลือกอ่านเป็นบางบทก่อน แต่รวมๆแล้วก็ยังไม่ไปถึงไหนเลยค่ะ ขอดองเอาไว้ก่อน
ดนตรีแห่งชีวิต
โดย สุรพงษ์ บุนนาค
สำนักพิมพ์ สารคดี
reviewed by Vitamin_C
หนังสือเกี่ยวกับเพลงคลาสสิกเล่มนี้เล่าถึงประวัติของคีตกวีหลายท่าน หลังจากเปิดผ่านๆ เลือกอ่านคีตกวีคนที่ตัวเองสนใจและชื่นชอบ ก็รู้สึกว่าทำไมชื่อเรื่องแต่ละบท และสำนวนมันคุ้นๆหว่า เหมือนเคยอ่านเจอะที่ไหนมานะ
เมื่อพลิกไปดูรายชื่อหนังสือประกอบการ เขียนที่ภาคผนวกก็ถึงบางอ้อ เพราะมีหนังสือ The Lives of the Great Composers แต่งโดย Harold C. Schonberg รวมอยู่ในรายชื่อนั้นด้วย เมื่อมาเปิดดูสารบัญเทียบกันเรียกว่าเหมือนกันแทบจะทุกประการ ส่วนเนื้อหาภายในก็มีสอดแทรกเพิ่มลดบ้าง แต่โดยรวมๆก็คล้ายกันมาก ดังนั้น ถ้าใครสนใจอ่านหนังสือฉบับอังกฤษเล่มนี้ แต่หาซื้อไม่ได้หรือขี้เกียจอ่านภาษาอังกฤษ ก็หยิบดนตรีแห่งชีวิตเล่มนี้มาอ่านแทนได้ อ่านสนุกและได้ใจความกระชับเลยค่ะ
คลาสสิกสามัญประจำบ้าน
แต่งโดย ดุสิต จรูญพงษ์ศักดิ์
สำนักพิมพ์เนชั่น
reviewed by ErShiYi
เล่มนี้ยังหาได้อยู่ในซีเอ็ดบางสาขา เป็นเรื่องราวแบ่งเป็นหลายส่วนเช่นนักดนตรีคลาสสิกรุ่นปัจจุบัน นักดนตรีคลาสสิกของไทย เป็นต้นครับ เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มฟังเพลงคลาสสิกมาซักพักแล้ว อยากได้ความรู้เพิ่มเติม
คัมภรีเพลงคลาสสิกครับ
reviewed by ErShiYi
เหมาะสำหรับมือใหม่และผู้ที่ต้องการเพิ่มความรู้เกี่ยวกับยุคต่างๆของเพลง คลาสสิก ประวัติความเป็นมา และวิธีการไปชมคอนเสริต รวมถึงมารยาทต่างๆ
มาปันใจให้คลาสสิก
reviewed by ErShiYi
มีห้าเล่มครับ เคยคุยกับผู้แต่ง เห็นบอกว่าจริงๆเขียนเล่มหกได้มาหลายปีแล้ว แต่ไม่มีทุนพิมพ์เพราะพิมพ์ทีไรเจ๊งทุกทีครับ เหมาะสำหรับมือใหม่
บรรเลงรมณ์ 1 และ 2
แต่งโดย จิ๋ว บางซื่อ
reviewed by ErShiYi
ว่ากันว่าเป็นหนังสือเพลงคลาสสิกเล่มแรกๆของเมืองไทยเลยครับ เป็นหนังสือควรค่าที่จะมีไว้ในครอบครอง หลายปีก่อนต้องหาตามร้านมือสองเท่านั้นและหายากมากๆๆ แต่ปีก่อนผมไปเจอมติชนเอามาขายที่งานหนังสือครับ อย่าพลาดนะครับงานนี้
คีตนิพนธ์อมตะ
แต่งโดย ดร.สมนึก จันทรประทิน
reviewed by Genzo
ชอบตรงที่พูดถึง การบันทึก สื่อดนตรี Classic ระดับตำนานมากมาย ซึ่งเนื้อหาจะพูดถึงทั้ง Composer และ คนเล่นในผลงานแต่ละแผ่น CD และ DVD นั้นๆ แบบว่า หนังสือแนวชีวประวัติ Composer นี่มีกันค่อนข้าเยอะแล้วเลย ตามหาหนังสือแนวนี้อยู่ เคยเห็นรวมเล่มของ อ.วิจิตร แต่ก็ไม่ได้เป็น Classic เพียวๆ ถึงแม้ว่า จะมีแผ่นที่พูดถึงอยู่ไม่มากขนาดที่ใช้ Reference เวลาเลือกซื้อได้ แต่ก็จัดว่าหาหนังสือแนวนี้ที่เป็นภาษาไทยได้น้อยมาก
Music of Master
แต่งโดย สดับพิณ รัตนเรือง
reviewed by Vitamin_C
หากใครเป็นสมาชิกจุลสารของรายการดนตรีคลาสสิกของสถานีวิทยุจุฬาก็คงจะรู้จักหนังสือเล่มนี้ดี หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือรวมบทความและบทสัมภาษณ์ที่ อ.สดับพิณ รัตนเรือง ที่ได้เขียนไว้ในจุลสารในระหว่างปี พ.ศ.2538-2542 เนื้อหาในเล่มก็น่าสนใจและมีเรื่องหลากหลาย เริ่มต้นตั้งแต่บทปูพื้นการฟังเพลงคลาสสิก มีเกร็ดประวัติของคีตกวีหลายท่าน และมีบทสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิของวงการคลาสสิกในบ้านเราด้วย
อลังการอุปรากร
แต่งโดย สดับพิณ รัตนเรือง
reviewed by Vitamin_C
เนื้อหาภายในเป็นเรื่องย่อของโอเปร่า แบ่งตามแต่ละองค์ ซึ่งเขียนได้กระชับอ่านง่ายและสนุกมากๆ นอกจากนี้ ยังมีแนะนำเพลงเด่นของโอเปร่าเรื่องนั้นๆด้วย ตอนที่ซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่าน เรียกว่าช่วยจุดประกายให้เริ่มหันมาฟังโอเปร่ามากขึ้นเลยค่ะ
เพลงเพลินใจ
แต่งโดย พิชัย วาสนาส่ง
reviewed by Vitamin_C
จริงๆ แล้วเล่มนี้หน้าปกเป็นสีขาวค่ะ แต่พอเวลาผ่านไปดันกลายเป็นสีเหลืองซะงั้น ซื้อไว้นานมากจนลืมไปแล้วว่าเค้าเขียนว่ายังไงบ้าง หลังจากรื้อออกมาครั้งนี้ ก็ว่าจะหาเวลามาอ่านซะหน่อย
เพลงรักคีตกวี
แปลโดย สันตสิริ
สำนักพิมพ์ฉับแกระ
reviewed by Vitamin_C
เล่มนี้จำไม่ได้ว่าซื้อมาตั้งแต่เมื่อไหร่ รู้แต่ว่านานมากเช่นกัน หนังสือ เล่มนี้แปลมาจากหนังสือภาษาอังกฤษที่ชื่อว่า The Private Lives of Great Composers เนื้อหาภายในเป็นชีวประวัติที่เน้นเรื่องความรักของcomposer หลายท่าน เนื้อเรื่องไม่ค่อยมีกล่าวถึงบทเพลงต่างๆเท่าไหร่ มีแต่เรื่องรักๆใคร่ๆ ทั้งหวานซึ้งกินใจ และเศร้าน้ำตาไหลพราก (แต่ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างหลังมากกว่า) อ่านแล้วอาจจะหลงนึกไปว่า อ๊ะ นี่เรากำลังนิยายน้ำเน่าอยู่หรือเปล่าเนี่ย โดยเฉพาะเรื่องของ Clara Schumann อ่านทีไรน้ำตาท่วมหมอนทุกที
สังคีตนิยม
แต่งโดย ณรุทธ์ สุทธจิตต์
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
reviewed by Vitamin_C
หน้า ปกบอกไว้ว่าพิมพ์ซ้ำครั้งที่ 9 ในปี 2550 แต่เล่มที่เรามีเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 ค่ะ เล่มนี้จะออกแนวหนังสือเรียนวิชาการไปหน่อย แต่ก็อ่านไม่ยากเท่าไหร่ ไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ทางดนตรีมากนักก็อ่านรู้เรื่อง
ไวโอลินของไอน์สไตน์
โดย โจเซฟ อีเกอร์
สำนักพิมพ์มติชน
แปลโดย จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล
reviewed by Vitamin_C
เล่ม นี้พึ่งซื้อมาจากงานสัปดาห์หนังสือเมื่อปีหลายปีก่อน ชื่อบทในสารบัญ มีหลายเรื่องที่น่าสนใจ แต่เห็นบางท่านที่อ่านจบแล้ว บอกว่าบทหลังๆพูดถึงฟิสิกซ์มากไปหน่อย อ่านแล้วอาจจะมึนได้ ส่วนตัวเองนั้นเลือกอ่านเป็นบางบทก่อน แต่รวมๆแล้วก็ยังไม่ไปถึงไหนเลยค่ะ ขอดองเอาไว้ก่อน
ดนตรีแห่งชีวิต
โดย สุรพงษ์ บุนนาค
สำนักพิมพ์ สารคดี
reviewed by Vitamin_C
หนังสือเกี่ยวกับเพลงคลาสสิกเล่มนี้เล่าถึงประวัติของคีตกวีหลายท่าน หลังจากเปิดผ่านๆ เลือกอ่านคีตกวีคนที่ตัวเองสนใจและชื่นชอบ ก็รู้สึกว่าทำไมชื่อเรื่องแต่ละบท และสำนวนมันคุ้นๆหว่า เหมือนเคยอ่านเจอะที่ไหนมานะ
เมื่อพลิกไปดูรายชื่อหนังสือประกอบการ เขียนที่ภาคผนวกก็ถึงบางอ้อ เพราะมีหนังสือ The Lives of the Great Composers แต่งโดย Harold C. Schonberg รวมอยู่ในรายชื่อนั้นด้วย เมื่อมาเปิดดูสารบัญเทียบกันเรียกว่าเหมือนกันแทบจะทุกประการ ส่วนเนื้อหาภายในก็มีสอดแทรกเพิ่มลดบ้าง แต่โดยรวมๆก็คล้ายกันมาก ดังนั้น ถ้าใครสนใจอ่านหนังสือฉบับอังกฤษเล่มนี้ แต่หาซื้อไม่ได้หรือขี้เกียจอ่านภาษาอังกฤษ ก็หยิบดนตรีแห่งชีวิตเล่มนี้มาอ่านแทนได้ อ่านสนุกและได้ใจความกระชับเลยค่ะ
คลาสสิกสามัญประจำบ้าน
แต่งโดย ดุสิต จรูญพงษ์ศักดิ์
สำนักพิมพ์เนชั่น
reviewed by ErShiYi
เล่มนี้ยังหาได้อยู่ในซีเอ็ดบางสาขา เป็นเรื่องราวแบ่งเป็นหลายส่วนเช่นนักดนตรีคลาสสิกรุ่นปัจจุบัน นักดนตรีคลาสสิกของไทย เป็นต้นครับ เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มฟังเพลงคลาสสิกมาซักพักแล้ว อยากได้ความรู้เพิ่มเติม
คัมภรีเพลงคลาสสิกครับ
reviewed by ErShiYi
เหมาะสำหรับมือใหม่และผู้ที่ต้องการเพิ่มความรู้เกี่ยวกับยุคต่างๆของเพลง คลาสสิก ประวัติความเป็นมา และวิธีการไปชมคอนเสริต รวมถึงมารยาทต่างๆ
มาปันใจให้คลาสสิก
reviewed by ErShiYi
มีห้าเล่มครับ เคยคุยกับผู้แต่ง เห็นบอกว่าจริงๆเขียนเล่มหกได้มาหลายปีแล้ว แต่ไม่มีทุนพิมพ์เพราะพิมพ์ทีไรเจ๊งทุกทีครับ เหมาะสำหรับมือใหม่
บรรเลงรมณ์ 1 และ 2
แต่งโดย จิ๋ว บางซื่อ
reviewed by ErShiYi
ว่ากันว่าเป็นหนังสือเพลงคลาสสิกเล่มแรกๆของเมืองไทยเลยครับ เป็นหนังสือควรค่าที่จะมีไว้ในครอบครอง หลายปีก่อนต้องหาตามร้านมือสองเท่านั้นและหายากมากๆๆ แต่ปีก่อนผมไปเจอมติชนเอามาขายที่งานหนังสือครับ อย่าพลาดนะครับงานนี้
คีตนิพนธ์อมตะ
แต่งโดย ดร.สมนึก จันทรประทิน
reviewed by Genzo
ชอบตรงที่พูดถึง การบันทึก สื่อดนตรี Classic ระดับตำนานมากมาย ซึ่งเนื้อหาจะพูดถึงทั้ง Composer และ คนเล่นในผลงานแต่ละแผ่น CD และ DVD นั้นๆ แบบว่า หนังสือแนวชีวประวัติ Composer นี่มีกันค่อนข้าเยอะแล้วเลย ตามหาหนังสือแนวนี้อยู่ เคยเห็นรวมเล่มของ อ.วิจิตร แต่ก็ไม่ได้เป็น Classic เพียวๆ ถึงแม้ว่า จะมีแผ่นที่พูดถึงอยู่ไม่มากขนาดที่ใช้ Reference เวลาเลือกซื้อได้ แต่ก็จัดว่าหาหนังสือแนวนี้ที่เป็นภาษาไทยได้น้อยมาก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)